ย้อนกลับ
หน้าแรก
วิธีการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
รวมเว็บบอร์ด
ติดต่อเรา
เครื่องพ่นละอองยา
เครื่องดูดเสมหะ
ใช้ในบ้านเรือน
ใช้ในบ้านเรือนและยานพาหนะ
สำหรับใช้ในโรงพยาบาล
เครื่องวัดความดัน
เครื่อวัดความดันแบบ Digital
เครื่องวัดความดันแบบปรอท
เครื่องวัดความดันแบบติดผนัง
เครื่องผลิตออกซิเจน
เครื่องผลิตออกซิเจนขนาด 3 ลิตร
เครื่องผลิตออกซิเจนแบบ 5-10 ลิตร
เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
เครื่องวัดออกซิเจน MD300C1
เครื่องวัดอัตราการเต้นของชีพจรและปริมาณออกซิเจนในเลือด
เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด ROSSMAX รุ่น SA210
ชุดถังออกซิเจน
ถังออกซิเจนชนิดเหล็กพ่นสี
ถังออกซิเจนชนิดอลูมิเนียม
O2 Flowmeter
สำหรับใช้ในเด็ก
สำหรับใช้ในผู้ใหญ่
เตียงนอนผู้ป่วย
เตียงผู้ป่วยปรับระดับด้วยมือ
เตียงผู้ป่วยปรับระดับด้วยไฟฟ้า
ที่นอนลมป้องกันแผลกดทับ
เครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด
accu-chek รุ่น performa
accu-chek รุ่น active
อุปกรณ์สแตนเลส
SIM 01-04
SIM 05-08
SIM 09-12
SIM 13-16
SIM 17-20
SIM 21-26
SIM 27-32
SIM 33-38
SIM 39-44
SIM 45-50
SIM 51-56
SIM 57-62
SIM 63-68
SIM 69-74
SIM 75-80
SIM 81-86
SIM 87-92
SIM 93-98
SIM 99-104
อื่นๆ
อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วย
ชุดตรวจร่างกาย
อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วย
อุปกรณ์บริหารร่างกาย(กายภาพบำบัด)
แชร์เรื่องราว
www.siamintermedical.com
จำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์
หน้าแรก
วิธีการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
รวมเว็บบอร์ด
ติดต่อเรา
เครื่องพ่นละอองยา
เครื่องดูดเสมหะ
ใช้ในบ้านเรือน
ใช้ในบ้านเรือนและยานพาหนะ
สำหรับใช้ในโรงพยาบาล
เครื่องวัดความดัน
เครื่อวัดความดันแบบ Digital
เครื่องวัดความดันแบบปรอท
เครื่องวัดความดันแบบติดผนัง
เครื่องผลิตออกซิเจน
เครื่องผลิตออกซิเจนขนาด 3 ลิตร
เครื่องผลิตออกซิเจนแบบ 5-10 ลิตร
เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
เครื่องวัดออกซิเจน MD300C1
เครื่องวัดอัตราการเต้นของชีพจรและปริมาณออกซิเจนในเลือด
เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด ROSSMAX รุ่น SA210
ชุดถังออกซิเจน
ถังออกซิเจนชนิดเหล็กพ่นสี
ถังออกซิเจนชนิดอลูมิเนียม
O2 Flowmeter
สำหรับใช้ในเด็ก
สำหรับใช้ในผู้ใหญ่
เตียงนอนผู้ป่วย
เตียงผู้ป่วยปรับระดับด้วยมือ
เตียงผู้ป่วยปรับระดับด้วยไฟฟ้า
ที่นอนลมป้องกันแผลกดทับ
เครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด
accu-chek รุ่น performa
accu-chek รุ่น active
อุปกรณ์สแตนเลส
SIM 01-04
SIM 05-08
SIM 09-12
SIM 13-16
SIM 17-20
SIM 21-26
SIM 27-32
SIM 33-38
SIM 39-44
SIM 45-50
SIM 51-56
SIM 57-62
SIM 63-68
SIM 69-74
SIM 75-80
SIM 81-86
SIM 87-92
SIM 93-98
SIM 99-104
อื่นๆ
อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วย
ชุดตรวจร่างกาย
อุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วย
อุปกรณ์บริหารร่างกาย(กายภาพบำบัด)
แชร์เรื่องราว
หน้าแรก
>
แชร์เรื่องราว
>
แม่และเด็ก
แม่และเด็ก
โดย:
admin
[IP: 171.96.240.xxx]
เมื่อ: 2015-02-06 12:58:07
หลากหลายเรื่องราวของแม่และลูกในด้านต่างๆ
ความคิดเห็น
Facebook Comments
#3
โดย:
admin
[IP: 171.96.240.xxx]
เมื่อ:
2015-02-06 13:06:11
แม่จ๋า...หนูมีปัญหาสมาธิสั้น
หนูควบคุมตัวเองไม่ได้ ซนมาก ไม่อยู่นิ่ง นั่งยุกยิก อยู่ไม่เป็นสุข ชอบเดินไปมาในห้องเรียน ไม่นั่งอยู่กับที่เวลากิน ทำอะไรแรง เล่นแรง เล่นแป๊บเดียวก็เปลี่ยนของเล่น เล่นเสียงดัง ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ไม่ได้ พูดเหมือนไม่ฟัง พูดมาก พูดไม่หยุด พูดขัดจังหวะคนอื่น ไม่แบ่งปัน ไม่อดทนรอเข้าแถว ไม่รอคิวเล่น ชอบแย่งของเล่น ไม่สนใจความรู้สึกใคร เพื่อนไม่ค่อยอยากคบ ใครมอบให้ทำงาน ก็ทำไม่สำเร็จ ทำของหายที่บ้าน ที่โรงเรียนบ่อย
คุณแม่ทราบไหมคะ เด็กทั่วไป อาจแสดงพฤติกรรมที่กล่าวมาข้างต้นนี้ได้บ้าง แต่เด็กสมาธิสั้น จะมีพฤติกรรมเหล่านี้ตลอดเวลา ดังนั้นถ้าลูกมีอาการดังกล่าวถือว่าลูกเป็นเด็กไฮเปอร์ หรือสมาธิสั้นค่ะ
-----------------------------------------------------------------------------------------------
ทำไม...เด็กไฮเปอร์
ยุคนี้มีสื่อสารพัด ทั้งเกมบนสมาร์ทโฟน เกมออนไลน์ อินเทอร์เน็ต ของเล่นไฮเทค สื่อโฆษณาล่อตาล่อใจกระตุ้นให้ใจลูกวอกแวก จนมีส่วนทำให้เด็กขาดสมาธิได้ง่าย พ่อแม่จึงจำเป็นต้องดูแลสิ่งแวดล้อมให้ดีค่ะ
-----------------------------------------------------------------------------------------------
6 วิธีหลบหลีก ตัวการทำลายสมาธิ
1. ไม่ให้ของเล่นลูกหลายอย่างพร้อมกัน ควรให้ลูกเล่นทีละชิ้น
2. ไม่ให้ลูกนั่งดูทีวีคนเดียวนาน ๆ เพาะทีวีคอมพิวเตอร์ เกม เป็นสื่อที่เปลี่ยนไว และเป็นการสื่อสารทางเดียว ทำลายสมาธิลูกได้มาก
3. ไม่ให้มีเสียงดังรบกวนใกล้ลูก จัดมุมสงบในบ้านให้ลูกเล่น อ่านนิทานให้ลูกฟัง ทำกิจกรรมเพิ่มสมาธิ
4. ไม่พาลูกไปห้างฯ ร้านค้า สวนสนุก ที่ที่มีสิ่งกระตุ้นมาก มีคนจอแจมีแสงสีเสียงเร้าใจมาก
5. ไม่ข่มขู่ ตี ทำร้ายลูก ผลวิจัยพบว่าเด็กที่ถูกทำร้ายบ่อย สมองส่วนความจำจะเล็ก ระดับฮอร์โมนเครียดจะสูง สมองที่เกี่ยวข้องกับการตื่นตัว และความระมัดระวังจะทำงานหนัก ทำให้ลูกตื่นตัว ขี้กลัวตลอด
6. ไม่ให้ลูกอยู่ใกล้สนามบิน โรงงาน บ้านที่มีเสียงทะเลาะทำร้ายร่างกายกัน เพราะฮอร์โมนเครียดในสมองจะเพิ่มสูง จนทำให้เกิดอากาไฮเปอร์เพิ่มขึ้น เลิกลั่ก อยู่ไม่สุข อดทนไม่ได้ ควบคุมตัวเองไม่ได้
11 วิธีหลอกล่อ ตัวการเพิ่มสมาธิ
1. พ่อแม่ต้องใจเย็น ไม่ดุ ไม่โกรธ แต่สนใจพฤติกรรมที่ดีของลูกแทน ให้คำชม กอดให้ลูกรู้สึกดีต่อตัวเอง
2. จัดเวลาทำกิจวัตรให้ลูกตรงกันอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เพื่อให้ลูกสามารควบคุมพฤติกรรมได้ดีขึ้น
3. จัดกิจกรรมที่ช่วยปรับยืดสมาธิของลูกให้นานขึ้น เช่น ปั้นดินน้ำมัน ตัวต่อเลโก้ ต่อจิ๊กชอว์
4. ให้ลูกทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ เพิ่มสมาธิจดจ่อกับงาน โดยให้คำชมเพิ่มกำลังใจให้ลูกรู้สึกอยากทำ
5. ให้ทำกิจกรรมดนตรี สอนให้ปรบมือเข้าจังหวะ กระโดดเต้นตามเพลง ฝึกให้ฟังเสียงเพลง เช่น ได้ยินเสียงปรบมือ 2 ครั้ง กระโดด 2 ครั้ง ช่วยให้ลูกจดจ่ออยู่กับเสียงที่ได้ยิน
6. ให้สบตาลูกเวลาพูดคุยกับลูก ฝึกให้ลูกรู้จักสบตากับผู้อื่น และเกิดสมาธิสนใจผู้ที่มาพูดคุยกับลูกด้วย
7. ปล่อยให้ลูกมีอิสระสำรวจ แสดงความเป็นตัวของตัวเองในขอบเขตที่เหมาะสม ให้ลูกรู้ว่าสิ่งไหนทำได้ ทำไม่ได้ บอกหรือห้ามให้ชัดเจน เพื่อให้ลูกได้มีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ตัวเองทำ
8. ให้ทำเป็นไม่ใส่ใจถ้าลูกซนมาก หรือเดินหนีไปก่อนถ้ารู้สึกควบคุมลูกหรือตัวเองไม่ได้
9. หากิจกรรมอื่นมาเบี่ยงเบนความสนใจลูก ถ้าลูกตื่นเต้นมาก เช่น ชวนต่อบล็อกไม้ อ่านนิทานให้ลูกฟัง
10. ให้แยกลูกออกถ้าลูกทะเลาะ หรือทำร้ายคนอื่น แล้วให้ลูกนั่งเงียบ ๆ คนเดียวสักพักจนกว่าจะสงบลง แล้วค่อยพูดถึงพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง และผลของพฤติกรรมนั้นว่าถ้าลูกยังทำอยู่จะเกิดผลเสียอย่างไร
11. ใช้ความอดทนกับลูก ให้ความรักแก่ลูกอย่างเสมอต้นเสมอปลายค่อย ๆ ปรับ ค่อย ๆ แก้ไข ไม่นานลูกก็มีพฤติกรรมที่ดีขึ้นได้ด้วยความรักของพ่อแม่ค่ะ
ขอบคุณเครดิต: www.kapook.com
#4
โดย:
admin
[IP: 171.96.240.xxx]
เมื่อ:
2015-02-06 13:06:57
สื่อสารกับทารกอย่างไรให้รู้เรื่อง
เนื่องจากทักษะการพูดของทารกยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากมากเมื่อคุณพ่อคุณแม่ต้องการสื่อสารกับพวกเขา และหลายครั้งที่ไม่เข้าใจว่าควรทำอย่างไรจึงจะเข้าใจความต้องการของทารกมากขึ้น แต่เรื่องยากสำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายคนจะกลายเป็นเรื่องที่ง่ายดายยิ่งขึ้น หากคุณพ่อคุณแม่ลองนำทริคจากเว็บไซต์ everydayfamily.com เหล่านี้ไปลองใช้กันดู
1. ใช้ดนตรีเชื่อมโยงความรู้สึก
หากจะบอกว่าการสื่อสารกับทารกผ่านเสียงดนตรีเป็นทริคที่ดีที่สุดก็คงไม่ผิดนัก เพราะสำหรับทารกเสียงเพลงก็ไม่ต่างไปจากนิทานที่ถูกเติมแต่งด้วยท่วงทำนอง ก็เลยเป็นสิ่งที่สามารถทำให้ทารกสงบลงได้อย่างน่าอัศจรรย์ เช่น ในเวลาที่รู้สึกไม่พอใจ หากทำไม่สำเร็จในครั้งแรกให้ลองร้องเพลงหรือให้ฟังเพลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งทารกมีท่าทีที่ดูผ่อนคลายมากขึ้น ส่วนในเวลาที่ทารกมีความสุขจะเปิดเพลงที่มีจังหวะสนุก ๆ ให้พวกเขาฟังด้วยก็ได้ นอกเหนือจากนี้แล้วการฟังเพลงไม่ได้ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สื่อสารกับทารกได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นการพัฒนาทักษะการสื่อสารของเด็ก ผ่านคำศัพท์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเนื้อเพลงอีกด้วย
2. ปรับช่วง Tummy Time ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
คุณพ่อคุณแม่คงรู้กันดีอยู่แล้ว่า Tummy Time หรือการหัดให้ทารกนอนคว่ำ เป็นการฝึกฝนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาในเรื่องของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าการฝึกฝนดังกล่าวยังช่วยให้ทารกมีพัฒนาการการสื่อสารที่ดีด้วยเช่นกัน และในวันนี้ก็มีขั้นตอนการฝึก ที่ประยุกต์มาจากคำแนะนำของ Nurturing Pathways โรงเรียนฝึกทักษะให้กับเด็ก ๆ มาช่วยให้การฝึกฝนของคุณพ่อคุณแม่มีประสิทธิภาพและส่งผลที่ดีกับทารกมากขึ้นด้วย
1. ก้มตัวลงให้อยู่ในระดับเดียวกับทารก โดยอยู่ในระดับที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสบตาและมองได้เนิ่นนาน
2. จากนั้นเริ่มร้องเพลง สร้างจังหวะ และขยับร่างกายไปพร้อมกัน
3. แตะที่มือ หลัง สะโพก หรือส่วนอื่น ๆ บนตัวทารกตามจังหวะเพลง
4. ควรฝึกไปพร้อมกับทารกคนอื่นด้วย โดยอุ้มพวกเขาไปนอนใกล้ ๆ กัน เพื่อให้สังเกตท่าทีของกันและกัน แต่อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด และพยายามพูดคุย รวมถึงใช้สัมผัสกระตุ้นการเคลื่อนไหวไปด้วยในระหว่างการฝึก
3. นวดตัวทารก
พลังแห่งการสัมผัสเป็นสิ่งที่น่ามหัศจรรย์อย่างยิ่ง เพราะเพียงปลายนิ้วก็มีจุดรับสัมผัสมากถึง 3,000 จุด ในขณะที่มีจุดสัมผัสอยู่ประมาณ 5 ล้านจุดทั่วร่างกาย ฉะนั้นการนวดทารกจึงเป็นการสื่อสารที่มีพลังอย่างมาก โดยนอกจากจะเป็นการทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่นใจว่า ได้รับความปลอดภัยแล้ว ยังรู้สึกได้ถึงความรัก การปกป้อง และความเข้าใจที่คุณพ่อคุณแม่ส่งไปด้วย
ทั้งนี้ดร.อีเลน โฟเกล ชไนเดอร์ ผู้เขียนบทความเกี่ยวกับการนวดตัวให้ทารก ได้ให้คำอธิบายเพิ่มเติมว่า ทารกจะเรียนรู้การสร้างความสัมพันธ์จากคนที่พวกเขามีปฏิกิริยาด้วย แต่อย่างไรก็ตามการนวดทารกเพื่อพัฒนาการสื่อสารนั้นจะสมบูรณ์มากขึ้น หากคุณพ่อคุณแม่ใส่ใจและเรียนรู้การตอบสนองของทารกทั้งด้านลบและด้านบวก โดยการนวดนั้นก็จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจสิ่งที่ทารกต้องการจะสื่อสารไปพร้อมกันด้วย
ก็หวังว่าทั้ง 3 ทริคที่ได้นำเสนอไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ดนตรี เพิ่มเทคนิคในช่วง Tummy Time และนวดตัวให้กับทารก จะช่วยลดอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างคุณพ่อคุณแม่กับทารก พร้อมทั้งช่วยให้ทั้ง 2 ฝ่ายสามารถสื่อสารทั้งความรู้สึก ความต้องการ พร้อมทั้งเข้าใจกันและกันมากขึ้นนะคะ
ขอบคุณเครดิต: www.kapook.com
ชื่อผู้ตอบ:
Visitors:
105,640
หนูควบคุมตัวเองไม่ได้ ซนมาก ไม่อยู่นิ่ง นั่งยุกยิก อยู่ไม่เป็นสุข ชอบเดินไปมาในห้องเรียน ไม่นั่งอยู่กับที่เวลากิน ทำอะไรแรง เล่นแรง เล่นแป๊บเดียวก็เปลี่ยนของเล่น เล่นเสียงดัง ทำตามคำสั่งง่าย ๆ ไม่ได้ พูดเหมือนไม่ฟัง พูดมาก พูดไม่หยุด พูดขัดจังหวะคนอื่น ไม่แบ่งปัน ไม่อดทนรอเข้าแถว ไม่รอคิวเล่น ชอบแย่งของเล่น ไม่สนใจความรู้สึกใคร เพื่อนไม่ค่อยอยากคบ ใครมอบให้ทำงาน ก็ทำไม่สำเร็จ ทำของหายที่บ้าน ที่โรงเรียนบ่อย
คุณแม่ทราบไหมคะ เด็กทั่วไป อาจแสดงพฤติกรรมที่กล่าวมาข้างต้นนี้ได้บ้าง แต่เด็กสมาธิสั้น จะมีพฤติกรรมเหล่านี้ตลอดเวลา ดังนั้นถ้าลูกมีอาการดังกล่าวถือว่าลูกเป็นเด็กไฮเปอร์ หรือสมาธิสั้นค่ะ
-----------------------------------------------------------------------------------------------
ทำไม...เด็กไฮเปอร์
ยุคนี้มีสื่อสารพัด ทั้งเกมบนสมาร์ทโฟน เกมออนไลน์ อินเทอร์เน็ต ของเล่นไฮเทค สื่อโฆษณาล่อตาล่อใจกระตุ้นให้ใจลูกวอกแวก จนมีส่วนทำให้เด็กขาดสมาธิได้ง่าย พ่อแม่จึงจำเป็นต้องดูแลสิ่งแวดล้อมให้ดีค่ะ
-----------------------------------------------------------------------------------------------
6 วิธีหลบหลีก ตัวการทำลายสมาธิ
1. ไม่ให้ของเล่นลูกหลายอย่างพร้อมกัน ควรให้ลูกเล่นทีละชิ้น
2. ไม่ให้ลูกนั่งดูทีวีคนเดียวนาน ๆ เพาะทีวีคอมพิวเตอร์ เกม เป็นสื่อที่เปลี่ยนไว และเป็นการสื่อสารทางเดียว ทำลายสมาธิลูกได้มาก
3. ไม่ให้มีเสียงดังรบกวนใกล้ลูก จัดมุมสงบในบ้านให้ลูกเล่น อ่านนิทานให้ลูกฟัง ทำกิจกรรมเพิ่มสมาธิ
4. ไม่พาลูกไปห้างฯ ร้านค้า สวนสนุก ที่ที่มีสิ่งกระตุ้นมาก มีคนจอแจมีแสงสีเสียงเร้าใจมาก
5. ไม่ข่มขู่ ตี ทำร้ายลูก ผลวิจัยพบว่าเด็กที่ถูกทำร้ายบ่อย สมองส่วนความจำจะเล็ก ระดับฮอร์โมนเครียดจะสูง สมองที่เกี่ยวข้องกับการตื่นตัว และความระมัดระวังจะทำงานหนัก ทำให้ลูกตื่นตัว ขี้กลัวตลอด
6. ไม่ให้ลูกอยู่ใกล้สนามบิน โรงงาน บ้านที่มีเสียงทะเลาะทำร้ายร่างกายกัน เพราะฮอร์โมนเครียดในสมองจะเพิ่มสูง จนทำให้เกิดอากาไฮเปอร์เพิ่มขึ้น เลิกลั่ก อยู่ไม่สุข อดทนไม่ได้ ควบคุมตัวเองไม่ได้
11 วิธีหลอกล่อ ตัวการเพิ่มสมาธิ
1. พ่อแม่ต้องใจเย็น ไม่ดุ ไม่โกรธ แต่สนใจพฤติกรรมที่ดีของลูกแทน ให้คำชม กอดให้ลูกรู้สึกดีต่อตัวเอง
2. จัดเวลาทำกิจวัตรให้ลูกตรงกันอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เพื่อให้ลูกสามารควบคุมพฤติกรรมได้ดีขึ้น
3. จัดกิจกรรมที่ช่วยปรับยืดสมาธิของลูกให้นานขึ้น เช่น ปั้นดินน้ำมัน ตัวต่อเลโก้ ต่อจิ๊กชอว์
4. ให้ลูกทำงานบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ เพิ่มสมาธิจดจ่อกับงาน โดยให้คำชมเพิ่มกำลังใจให้ลูกรู้สึกอยากทำ
5. ให้ทำกิจกรรมดนตรี สอนให้ปรบมือเข้าจังหวะ กระโดดเต้นตามเพลง ฝึกให้ฟังเสียงเพลง เช่น ได้ยินเสียงปรบมือ 2 ครั้ง กระโดด 2 ครั้ง ช่วยให้ลูกจดจ่ออยู่กับเสียงที่ได้ยิน
6. ให้สบตาลูกเวลาพูดคุยกับลูก ฝึกให้ลูกรู้จักสบตากับผู้อื่น และเกิดสมาธิสนใจผู้ที่มาพูดคุยกับลูกด้วย
7. ปล่อยให้ลูกมีอิสระสำรวจ แสดงความเป็นตัวของตัวเองในขอบเขตที่เหมาะสม ให้ลูกรู้ว่าสิ่งไหนทำได้ ทำไม่ได้ บอกหรือห้ามให้ชัดเจน เพื่อให้ลูกได้มีสมาธิจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ตัวเองทำ
8. ให้ทำเป็นไม่ใส่ใจถ้าลูกซนมาก หรือเดินหนีไปก่อนถ้ารู้สึกควบคุมลูกหรือตัวเองไม่ได้
9. หากิจกรรมอื่นมาเบี่ยงเบนความสนใจลูก ถ้าลูกตื่นเต้นมาก เช่น ชวนต่อบล็อกไม้ อ่านนิทานให้ลูกฟัง
10. ให้แยกลูกออกถ้าลูกทะเลาะ หรือทำร้ายคนอื่น แล้วให้ลูกนั่งเงียบ ๆ คนเดียวสักพักจนกว่าจะสงบลง แล้วค่อยพูดถึงพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง และผลของพฤติกรรมนั้นว่าถ้าลูกยังทำอยู่จะเกิดผลเสียอย่างไร
11. ใช้ความอดทนกับลูก ให้ความรักแก่ลูกอย่างเสมอต้นเสมอปลายค่อย ๆ ปรับ ค่อย ๆ แก้ไข ไม่นานลูกก็มีพฤติกรรมที่ดีขึ้นได้ด้วยความรักของพ่อแม่ค่ะ
ขอบคุณเครดิต: www.kapook.com
เนื่องจากทักษะการพูดของทารกยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากมากเมื่อคุณพ่อคุณแม่ต้องการสื่อสารกับพวกเขา และหลายครั้งที่ไม่เข้าใจว่าควรทำอย่างไรจึงจะเข้าใจความต้องการของทารกมากขึ้น แต่เรื่องยากสำหรับคุณพ่อคุณแม่หลายคนจะกลายเป็นเรื่องที่ง่ายดายยิ่งขึ้น หากคุณพ่อคุณแม่ลองนำทริคจากเว็บไซต์ everydayfamily.com เหล่านี้ไปลองใช้กันดู
1. ใช้ดนตรีเชื่อมโยงความรู้สึก
หากจะบอกว่าการสื่อสารกับทารกผ่านเสียงดนตรีเป็นทริคที่ดีที่สุดก็คงไม่ผิดนัก เพราะสำหรับทารกเสียงเพลงก็ไม่ต่างไปจากนิทานที่ถูกเติมแต่งด้วยท่วงทำนอง ก็เลยเป็นสิ่งที่สามารถทำให้ทารกสงบลงได้อย่างน่าอัศจรรย์ เช่น ในเวลาที่รู้สึกไม่พอใจ หากทำไม่สำเร็จในครั้งแรกให้ลองร้องเพลงหรือให้ฟังเพลงไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งทารกมีท่าทีที่ดูผ่อนคลายมากขึ้น ส่วนในเวลาที่ทารกมีความสุขจะเปิดเพลงที่มีจังหวะสนุก ๆ ให้พวกเขาฟังด้วยก็ได้ นอกเหนือจากนี้แล้วการฟังเพลงไม่ได้ช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สื่อสารกับทารกได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นการพัฒนาทักษะการสื่อสารของเด็ก ผ่านคำศัพท์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเนื้อเพลงอีกด้วย
2. ปรับช่วง Tummy Time ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
คุณพ่อคุณแม่คงรู้กันดีอยู่แล้ว่า Tummy Time หรือการหัดให้ทารกนอนคว่ำ เป็นการฝึกฝนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาในเรื่องของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าการฝึกฝนดังกล่าวยังช่วยให้ทารกมีพัฒนาการการสื่อสารที่ดีด้วยเช่นกัน และในวันนี้ก็มีขั้นตอนการฝึก ที่ประยุกต์มาจากคำแนะนำของ Nurturing Pathways โรงเรียนฝึกทักษะให้กับเด็ก ๆ มาช่วยให้การฝึกฝนของคุณพ่อคุณแม่มีประสิทธิภาพและส่งผลที่ดีกับทารกมากขึ้นด้วย
1. ก้มตัวลงให้อยู่ในระดับเดียวกับทารก โดยอยู่ในระดับที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสบตาและมองได้เนิ่นนาน
2. จากนั้นเริ่มร้องเพลง สร้างจังหวะ และขยับร่างกายไปพร้อมกัน
3. แตะที่มือ หลัง สะโพก หรือส่วนอื่น ๆ บนตัวทารกตามจังหวะเพลง
4. ควรฝึกไปพร้อมกับทารกคนอื่นด้วย โดยอุ้มพวกเขาไปนอนใกล้ ๆ กัน เพื่อให้สังเกตท่าทีของกันและกัน แต่อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด และพยายามพูดคุย รวมถึงใช้สัมผัสกระตุ้นการเคลื่อนไหวไปด้วยในระหว่างการฝึก
3. นวดตัวทารก
พลังแห่งการสัมผัสเป็นสิ่งที่น่ามหัศจรรย์อย่างยิ่ง เพราะเพียงปลายนิ้วก็มีจุดรับสัมผัสมากถึง 3,000 จุด ในขณะที่มีจุดสัมผัสอยู่ประมาณ 5 ล้านจุดทั่วร่างกาย ฉะนั้นการนวดทารกจึงเป็นการสื่อสารที่มีพลังอย่างมาก โดยนอกจากจะเป็นการทำให้ทารกรู้สึกอบอุ่นใจว่า ได้รับความปลอดภัยแล้ว ยังรู้สึกได้ถึงความรัก การปกป้อง และความเข้าใจที่คุณพ่อคุณแม่ส่งไปด้วย
ทั้งนี้ดร.อีเลน โฟเกล ชไนเดอร์ ผู้เขียนบทความเกี่ยวกับการนวดตัวให้ทารก ได้ให้คำอธิบายเพิ่มเติมว่า ทารกจะเรียนรู้การสร้างความสัมพันธ์จากคนที่พวกเขามีปฏิกิริยาด้วย แต่อย่างไรก็ตามการนวดทารกเพื่อพัฒนาการสื่อสารนั้นจะสมบูรณ์มากขึ้น หากคุณพ่อคุณแม่ใส่ใจและเรียนรู้การตอบสนองของทารกทั้งด้านลบและด้านบวก โดยการนวดนั้นก็จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจสิ่งที่ทารกต้องการจะสื่อสารไปพร้อมกันด้วย
ก็หวังว่าทั้ง 3 ทริคที่ได้นำเสนอไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ดนตรี เพิ่มเทคนิคในช่วง Tummy Time และนวดตัวให้กับทารก จะช่วยลดอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างคุณพ่อคุณแม่กับทารก พร้อมทั้งช่วยให้ทั้ง 2 ฝ่ายสามารถสื่อสารทั้งความรู้สึก ความต้องการ พร้อมทั้งเข้าใจกันและกันมากขึ้นนะคะ
ขอบคุณเครดิต: www.kapook.com